การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนและการไม่เลือกปฏิบัติ

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อป้องกัน ลดความเสี่ยง และสร้างความเชื่อมั่นของการดำเนินธุรกิจต่อประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน โดย บริษัทฯ ได้ดำเนินการตามหลักการชี้แนะด้านสิทธิมนุษยชนกับธุรกิจ (United Nations Framework and Guiding Principles on Business and Human Rights) หรือ UNGP ตามหลักการ 3 ประการ ได้แก่ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect) การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect) และการเยียวยา (Remedy)

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2565

  • จากกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในองค์กร พบว่า บริษัทฯ ไม่มีประเด็นความเสี่ยง รวมถึงไม่มีข้อร้องเรียน หรือการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน
  • คู่ค้ารายสำคัญทางตรง (Critical Tier 1) ของบริษัท พบว่า ไม่มีประเด็นความเสี่ยงด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • คู่ค้ารายสำคัญทางอ้อม (Critical Non Tier 1) ของบริษัท พบว่า มีความเสี่ยงระดับต่ำของประเด็นเกี่ยวกับการจัดซื้อสินค้าหรือบริการที่บริษัทจัดซื้อจัดจ้างอาจไม่ได้ผลิตมาจากคู่ค้าโดยตรง (Critical Non Tier 1) ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดเตรียมมาตรการป้องกันและลดผลกระทบ รวมถึงแนวทางการแก้ไขเยียวยา เพื่อลดความเสี่ยงในประเด็นดังกล่าว

นโยบายสิทธิมนุษยชนระดับองค์กร

บริษัทฯ ได้ทบทวนและปรับปรุงนโยบายสิทธิมนุษยชนและการไม่เลือกปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) สิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ (Children Rights and Business Principles: CRBP) และการปฏิบัติตามข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact)

นโยบายสิทธิมนุษยชนและการไม่เลือกปฏิบัติ

กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD)

บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดทำกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน อ้างอิงแนวทางตามหลักการของ UN Guiding Principles on Business and Human Rights (UNGP) เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็นประจำทุกๆ 2 ปี โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. การกำหนดขอบเขตการตรวจสอบ

    บริษัทฯ กำหนดขอบเขตกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านให้ชัดเจน ครอบคลุม ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง (Vulnerable Group) เช่น เด็ก ผู้พิการ สตรี ชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพ แรงงานที่ว่าจ้างผ่านบุคคลที่สาม ชนพื้นเมือง ชุมชนท้องถิ่น เพศทางเลือก ผู้สูงอายุและสตรีตั้งครรภ์ เป็นต้น ในทุกๆ พื้นที่ปฏิบัติการที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจหรือมีสิทธิในการควบคุมจัดการ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน โดยพิจารณาประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สิทธิแรงงาน สิทธิชุมชน ห่วงโซ่อุปทาน ความมั่นคงปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสิทธิผู้บริโภค

  2. การระบุประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง

    บริษัทฯ ทบทวนประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทั้งกิจกรรมทางตรงที่บริษัทฯ ดำเนินการเอง และทางอ้อมผ่านการดำเนินการของคู่ค้า ผู้รับเหมา หรือบริษัทร่วมค้า ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการร่วมกระทำความผิดในการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงทบทวนแนวโน้มประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันในตลาดโลก นำมาจัดเป็นกลุ่มหัวข้อที่ใกล้เคียงกันเพื่อจัดทำเป็นรายการตรวจสอบประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (Human Rights Impact Assessment) มอบหมายให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น

  3. การจัดลำดับความสำคัญประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

    บริษัทฯ นำประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนจากผลประเมินตามรายการตรวจสอบประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (Human Rights Impact Assessment) มาจัดลำดับความสำคัญประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทฯ ได้กำหนดเกณฑ์ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ต่ำ ปานกลาง สูง และสูงมาก ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ โอกาสที่จะเกิดขึ้น และผลกระทบ ทั้งนี้เพื่อให้บริษัทฯ สามารถวางแนวทาง/มาตรการลดผลกระทบให้เหมาะสมกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน

    เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง: โอกาสที่จะเกิดขึ้น

    ระดับโอกาสที่จะเกิดขึ้น ลักษณะของโอกาสที่จะเกิดขึ้น
    4 มีโอกาสสูง (>25%) เหตุการณ์เกิดขึ้นภายในพื้นที่ปฏิบัติการหลายครั้งต่อปี
    3 มีโอกาสปานกลาง (10-25%) เหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติการเป็นครั้งคราว
    2 มีโอกาสน้อย (1-10%) เหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติการน้อยมาก แต่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น
    1 มีโอกาสน้อยมาก (<1%) เหตุการณ์เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมที่เป็นประเภทเดียวกับพื้นที่ปฏิบัติการ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่ปฏิบัติการ

    เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง: ผลกระทบ

    ระดับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ลักษณะของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
    4 มีผลกระทบสูง
    • ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนส่งผลกระทบในวงกว้างหรือส่งผลต่อกลุ่มประชากรที่เกินกว่าขอบเขตของพื้นที่ปฏิบัติการ
    • บริษัทฯ ไม่สามารถควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อฟื้นฟูให้ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้สิทธินั้นกลับคืนมาได้
    • ผลกระทบ / เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชนมีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกที่เป็นอิสระ และมีความน่าเชื่อถือ เพื่อไกล่เกลี่ยปัญหาร่วมกับบริษัทฯ
    3 มีผลกระทบปานกลาง
    • บริษัทฯ มีความจงใจในการให้ความช่วยเหลือ หรือให้การสนับสนุนการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน (Legal Complicity)
    • ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นผลจากการดำเนินงานของบริษัทฯ หรือห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ปฏิบัติการ
    • บริษัทฯ มีความขัดแย้งด้านสิทธิมนุษยชนกับกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ (Vulnerable Group)
    2 มีผลกระทบน้อย
    • บริษัทฯ ได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนโดยหน่วยงานอื่น (Non-Legal Complicity)
    • บริษัทฯ ไม่สามารถตอบสนองต่อข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชนจากผู้มีส่วนได้เสียภายในหรือภายนอกได้
    1 มีผลกระทบน้อยมาก
    • ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับจากผู้มีส่วนได้เสียจากภายในหรือภายนอกได้รับการป้องกันแก้ไขในระดับพื้นที่ปฏิบัติการ และโดยกลไกการจัดการข้อร้องเรียนของบริษัทฯ
    prioritizing human rights risk issues

    รูปที่ 1 การจัดลำดับความสำคัญประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

  4. การกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบและป้องกัน

    เมื่อจัดลำดับประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเรียบร้อยแล้ว บริษัทฯ ต้องคาดการณ์ความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากประเด็นความเสี่ยงนั้นๆ และพัฒนามาตรการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในประเด็นที่มีระดับความเสี่ยงสูง และสูงมาก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการลดและควบคุมผลกระทบเชิงลบให้อยู่ในระดับต่ำหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้ พร้อมทั้งเสริมสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับผู้ได้รับผลกระทบ

  5. การติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

    เนื่องจากประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อกิจกรรมและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเปลี่ยนไป บริษัทฯ จึงต้องทบทวนประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และมาตรการบรรเทาผลกระทบและป้องกันความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดตัวชี้วัดเพื่อใช้เป็นเครื่องมือติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของบริษัท เช่น ร้อยละของพนักงานที่ได้รับการอบรมด้านสิทธิมนุษยชน จำนวนข้อร้องเรียนที่ได้รับและสถานะการแก้ไข เป็นต้น พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุกปีผ่านรายงานความยั่งยืนประจำปีหรือเว็บไซต์ของบริษัท

  6. การแก้ไขและเยียวยา

    บริษัทฯ จัดให้มีกลไกรับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ ในกรณีที่มีเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมของบริษัท ดังนั้นบริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางการแก้ไขให้ถูกต้องและมาตรการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งในรูปแบบทางการเงินและไม่ใช่การเงิน ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงสรุปบทเรียนเพื่อจัดทำมาตรการป้องกันการเกิดซ้ำ

ความหลากหลายของพนักงานในศรีตรังโกลฟส์

จำนวนพนักงานทั้งหมด

total workforce 1

 

total workforce 2

จำนวนพนักงานในตำแหน่ง Management
(% of Total Management Workforce)

all management positions

จำนวนพนักงานในตำแหน่ง Top Management
(% of Total Top Management Workforce)

top management positions

จำนวนพนักงานในตำแหน่ง Junior Management
(% of Total Junior Management Workforce)

all management positions

จำนวนพนักงานในระดับ Management ที่มีบทบาทสร้างรายได้
(% of all such managers)

top management positions

จำนวนพนักงานในตำแหน่ง Science, Technology, Engineering, Mathematics (STEM)
(% of total STEM positions)

top management positions

ความหลากหลายของสัญชาติ

สัญชาติ สัดส่วนจากพนักงานทั้งหมด (%) สัดส่วนจากตำแหน่ง Management ทั้งหมด (%)
ไทย 70.4 1.0
พม่า 25.6 0.0
กัมพูชา 3.8 0.0

การดูแลพนักงาน

บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการสร้างระบบการบริหารงานบุคคลที่ดี ตั้งแต่การสรรหาพนักงานใหม่ การบริหารค่าตอบแทนที่มีมาตรฐาน กำหนดเป้าหมายและแผนการพัฒนาศักยภาพพนักงาน เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าและการเติบโตในอาชีพ ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงาน และให้อิสระและเคารพสิทธิของพนักงานในการเป็นตัวแทน การรวมกลุ่ม หรือ การเจรจาต่อรองโดยคิดเป็นร้อยละ 100 ของพนักงานทั้งหมด โดยมีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นตัวแทนในการหารือกับนายจ้าง ทั้งด้านสวัสดิการอื่นๆ ที่นอกเหนือจากกฎหมายขั้นพื้นฐาน รวมไปถึง การทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบริษัทฯ

แนวทางการปฏิบัติงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Working Operations)

บริษัทฯ มีนโยบายสนับสนุนให้เกิดชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น และอนุญาตให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานตามช่วงเวลาที่เหมาะสม สอดคล้องกับงานและความต้องการของพนักงานกลุ่มต่างๆ โดยมีการกำหนดการเข้าปฏิบัติงาน เลิกจ้างที่หลากหลายช่วงเวลา

สวัสดิการครอบครัว (Family Support)

  • พนักงานหญิงได้รับสิทธิ์เงินขวัญถุงรับขวัญบุตร จำนวน 1,000 บาท / ครั้ง
  • พนักงานหญิงมีสิทธิ์ลาคลอดได้ไม่เกิน 98 วัน หรือ 14 สัปดาห์ และได้รับค่าจ้างในช่วงลาคลอดแต่ไม่เกิน 45 วัน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายแรงงานของประเทศไทย หากพนักงานที่ตั้งครรภ์ได้รับใบรับรองแพทย์ชั้นหนึ่ง ที่แสดงว่าพนักงานไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ พนักงานมีสิทธิ์ขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอด
  • พนักงานสามารถยื่นขออนุมัติวันลากิจ (Personal Leave) หรือวันลาพักร้อน (Annual Leave) เพื่อดูแลสมาชิกในครอบครัว (อาทิ บุตร คู่สมรส บิดา มารดา) เพิ่มเติมได้ โดยบริษัทฯ จะพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายกรณี

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีโครงการเสริมสร้างความสุขในที่ทำงานให้กับพนักงาน ภายใต้ชื่อ “โครงการ Happy Workplace” ประกอบด้วย

Happy consultation

happy consultation

บริหารจัดการความเครียดในที่ทำงาน เพื่อโดยให้คำปรึกษาแก่พนักงานที่มีปัญหาต่าง ๆ เช่น ความท้อใจ ความตึงเครียด ปัญหาในการทำงาน ปัญหาครอบครัว เป็นต้น โดยพนักงานสามารถติดต่อทางโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง หรือการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อเข้าพบเป็นการส่วนตัว โดยจะช่วยให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหาเพื่อให้พนักงานรู้สึกผ่อนคลายกังวล

Happy Body

happy body

Smart Dental ตรวจสุขภาพในช่องปากและขูดหินปูนโดยทันตแพทย์

songkran sports day

กีฬาสานสัมพันธ์วันสงกรานต์ เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย และเชื่อมความสัมพันธ์ในกลุ่มพนักงาน

โครงการพัฒนาพนักงาน

Successor Project

successor project

ปัจจุบันภาพรวมของการดำเนินธุรกิจ ยังคงมีการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และในยุคสมัยแห่งการแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจ บริษัทตระหนักและยังคงเล็งเห็นความสำคัญในด้านทรัพยากรบุคคล ที่เป็นกลไกหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จที่ตั้งไว้ได้อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และรองรับการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวข้างต้น บริษัทจึงได้เฟ้นหาและเตรียมวางตัวบุคลากรขององค์กร เพื่อเข้าสู่กระบวนการ เตรียมความพร้อมที่จะรับสืบทอดตำแหน่งที่สำคัญในระดับบริหาร ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านั้นเรียกว่า Successor ซึ่งผ่านการพิจารณาและคัดเลือกจากจากผู้บริหาร

เป้าหมายและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ

  1. เพื่อพัฒนาทักษะต่างๆ ของ Successor และมีความพร้อมในทุกๆ ด้านเพื่อการสืบทอดตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น
  2. เพื่อให้บริษัทฯ ไม่ขาดทรัพยากรบุคคลของการรับช่วงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น

ผลประโยชน์เชิงตัวเลขที่บริษัทฯ จะได้รับ

พนักงานที่เข้าร่วมโครงการ เช่น กลุ่มลด Water Consumption สามารถลดต้นทุนการผลิตให้กับบริษัทฯ ได้เป็นจำนวนเงิน 522,574.15 บาท และกลุ่มขยายความถี่สอบเทียบ Pressure Transmitter (PT) และ Temperature Transmitter (TT) เป็น 2 ปี สามารถลดต้นทุนการผลิตให้กับบริษัทฯ ได้เป็นจำนวนเงิน 232,688 บาท

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

20 คน หรือคิดเป็น 0.24% จากจำนวนพนักงานทั้งหมด

โครงการอบรมหลักสูตร “ทฤษฎี 9 Module”

training program

บริษัทฯ ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมมีเครื่องจักรเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตจำนวนมากมาย บุคลากรเฉพาะทางในการดูแล รักษาเครื่องจักรอย่างเช่นช่างจึงมีความจำเป็นอย่างมาก หลักสูตรทฤษฎี 9 Module ได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดความรู้ในวิชาช่างที่เป็น Know how ของบริษัทฯ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมายและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ

เพื่อเสริมทักษะในการปฏิบัติงานของพนักงานตำแหน่งช่าง

ผลประโยชน์เชิงตัวเลขที่บริษัทฯ จะได้รับ

บริษัทฯ ได้พนักงานช่างที่มีฝีมือ ผ่านการสอบวัดผลภาคทฤษฎี 12 คน

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

77 คน หรือคิดเป็น 0.95% จากจำนวนพนักงานทั้งหมด

Other SD Project

ศรีตรังโกลฟส์ มอบสิ่งของอุปโภคบริโภคต้อนรับเดือนรอมฎอน

Our Social Responsibility during Covid-19

ติดต่อเรา