การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม

นโยบายและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

เนื่องด้วยบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจการผลิตจึงมีประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทฯ ได้แก่ การใช้ทรัพยากร พลังงาน การบริหารจัดการมลภาวะทางด้านน้ำและอากาศ การบริหารจัดการของเสียที่เหลือจากกระบวนการผลิต ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้นำระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001:2015 ซึ่งครอบคลุมทั้งในด้านการใช้ทรัพยากร และ การควบคุมมลพิษ เพื่อเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและแนวทางการดำเนินงาน โดยมีตัวแทนฝ่ายบริหารระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกับคณะผู้ประสานงานของระบบบริหารงาน คุณภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (QSE) ควบคุมดูแลโดยใช้กลไกในการตรวจติดตามภายใน (Internal Audit) ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001 รวมถึงการติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ อย่างใกล้ชิด รวมถึงการรายงานผลการดำเนินงานต่อฝ่ายบริหาร เพื่อสื่อสารและเป็นแนวทางให้ทุกส่วนงานปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน บริษัทฯ ได้ประกาศนโยบายสิ่งแวดล้อม ดังนี้

บริษัท ศรีตรังโกลฟส์(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) มีความมุ่งมั่นและพร้อมที่จะทำงานด้วย จิตสำนึกที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS/ ISO14001) มาดำเนินการในองค์กร โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนงาน และกิจกรรมต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการติดตามทบทวนผลการดำเนินการทุกปี ภายใต้คำขวัญที่ว่า

“อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมถนอมและรักษา ศรีตรังจะพัฒนา นำคุณค่าสู่สังคม”

นโยบายสิ่งแวดล้อม เป็นหน้าที่ที่ทุกคนในองค์กรต้องปฏิบัติ เพื่อคุณภาพชีวิตของพนักงาน ลูกค้า ชุมชน สังคมและอนุชนรุ่นหลัง โดยบริษัท ศรีตรังโกลฟส์(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีนโยบายดำเนินการดังนี้

  • ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อกำหนดต่างๆ ของทางราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
  • ทำการป้องกัน ลดการเกิดของเสีย และสนับสนุนการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
  • ปรับปรุง และพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ โดยการตรวจและติดตาม
  • มุ่งเน้นอนุรักษ์ ทรัพยากร และพลังงาน โดยการใช้งานเท่าที่จำเป็น และให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ให้การศึกษา และฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมกับพนักงาน รวมถึงผู้เข้ามาทำงานภายใต้องค์กร เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึก ให้มีความตระหนัก และป้องกันปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • เปิดเผยและเผยแพร่นโยบายสิ่งแวดล้อมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ปี 2564 บริษัทฯ ที่ได้รับการรับรองระบบ ISO 14001:2015 จำนวน 3 บริษัท คือ สาขาสุราษฎร์ธานี และ สาขาตรัง และ สาขาหาดใหญ่

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ทบทวนข้อมูลผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ย้อนหลัง ปี 2562-2563 ใหม่ เพื่อสามารถตั้งเป้าหมายได้สอดคล้องกับการดำเนินงานในปัจจุบัน

การสร้างวัฒนธรรมสีเขียว

บริษัทฯ มุ่งสร้างวัฒนธรรมด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นกับพนักงานในองค์กร ด้วยการสื่อสาร รณรงค์ผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ ไวนิล เสียงตามสาย และ Morning Talk เพื่อรณรงค์และสร้างจิตสำนึกให้กับพนักงาน ให้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า โดยใช้เท่าที่จำเป็น และให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในกระบวนการผลิตและในชีวิตประจำวันทั้งภายในและภายนอกองค์กร ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้กระดาษ reuse ยกเลิกการใช้กล่องโฟมและลดการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในโรงอาหาร การปั่นจักรยานในโรงงานและบ้านพักพนักงาน การรณรงค์การคัดแยกขยะตามประเภทเพื่อสนับสนุนการนำกลับไปใช้ใหม่และลดปริมาณขยะที่ส่งกำจัด ตลอดจนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งภายในองค์กรและการมีส่วนร่วมปลูกป่า สร้างฝายร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ (GRI 102-12) โดยตั้งเป้าหมาย ให้การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ให้สอดคล้องตามเกณฑ์ อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านกายภาพ (climate-related physical risks) เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง และเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว (extreme weather event) ตลอดจนความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนผ่าน (climate-related transition risks) จากความพยายามของหลายๆประเทศที่กำหนดมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบและมาตรฐานต่างๆที่เข้มงวดมากขึ้น หรือภาษีคาร์บอน ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้สามารถสร้างผลกระทบต่อหลายๆธุรกิจและอุตสาหกรรม

บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบดังกล่าวที่อาจกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ จึงได้กำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน บริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการธุรกิจ และแนวทางการบริหารจัดที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก - SDG 13 และเป้าหมายระยะยาวของบริษัทฯ ในการเป็น low-carbon company ผ่านโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่างๆ และกิจกรรมการชดเชยคาร์บอน (carbon offset) เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ความสามารถในการแข่งขัน และความยั่งยืนของการดำเนินธุรกิจในอนาคต

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการเชิงรุกในการค้นหาแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญ และดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) ของโรงงานทั้ง 3 สาขา คือ สาขาหาดใหญ่ สาขาตรัง และ สาขาสุราษฎร์ธานี เพื่อจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของปี 2564 และวางแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ทั้งนี้ ข้อมูลการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรได้รับการทวนสอบโดยผู้ทวนสอบ จากคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในการทวนสอบข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นอิสระ ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทฯ ยังได้มีแผนจัดทำและขอการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP) สำหรับผลิตภัณฑ์ถุงมือยางในปี 2565

เป้าหมาย

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลงร้อยละ 10 เทียบกับปีฐาน 2564 ภายในปี 2569

ผลการดำเนินงาน ปี 2564

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก* (ขอบเขตที่ 1 และ 2)

หน่วย ขอบเขตที่ 1 ขอบเขตที่ 2 รวม
ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 87,553 128,429 215,982

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อตันหน่วยผลิตภัณฑ์ (ขอบเขตที่ 1 และ 2)

หน่วย ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564*
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ต่อ ล้านชิ้น 5.75 5.66 7.42

*นับเป็นปีฐานของโรงงานสาขา 3 สาขา เนื่องจากตัวเลขที่ได้รับการทวนสอบจากหน่วยงานภายนอก

การใช้พลังงาน

กระบวนการผลิตถุงมือยางของบริษัทฯ ใช้พลังงานความร้อน ไอน้ำ และไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญซึ่งเป็นต้นทุนการผลิต ประกอบกับโรงงานของบริษัทฯ เป็นโรงงานควบคุม ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งบริษัทฯ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

บริษัทฯ กำหนดให้มีคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานและผู้รับผิดชอบด้านพลังงานประจำโรงงาน เพื่อบริหารจัดการการใช้พลังงาน ผ่านโครงการอนุรักษ์พลังงานและมาตรการประหยัดพลังงานต่างๆ ตลอดจนส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น การเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน การปรับปรุงกระบวนการทำงาน การใช้เชื้อเพลิงชีวมวล 100% ในการผลิตพลังงานความร้อนในหม้อไอน้ำ (boiler) รวมถึงการติดตั้งระบบไฟแสงสว่างจากพลังงานแสงอาทิตย์บริเวณทางเดินทั้งภายในบริษัทฯ นอกจากนี้ในปี 2564 บริษัทฯ ได้อนุมัติงบลงทุนในโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (solar roof) บนพื้นที่ประมาณ 6,000 ตารางเมตร ของโรงงานสาขาตรัง โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุดถึง 1 เมกกะวัตต์ เพื่อให้บริษัทฯ บรรลุเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ตลอดสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการประกอบธุรกิจ

แนวทางในการบริหารจัดการพลังงาน

  • กำหนดเป้าหมายและแผนการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนประจำปี
  • ตรวจสอบความสมบูรณ์ของอุปกรณ์และเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานสูงสุด
  • ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ของเครื่องจักรให้เป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
  • ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกเพื่อนำมาใช้ภายในบริษัทฯ

เป้าหมาย

ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลงร้อยละ 10 เทียบกับปีฐาน 2562 ภายในปี 2567

ผลการดำเนินงาน

การใช้พลังงานไฟฟ้า(กิโลวัตต์-ชั่วโมง)ต่อล้านชิ้น

สัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้า ต่อพลังงานความร้อน (หน่วย : เมกะจูล)

ตัวอย่างโครงการอนุรักษ์พลังงาน

สาขาตรัง

โครงการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า (ลดการใช้แรงลมในกระบวนการเป่าถุงมือโดยการลดขนาดท่อลม)

ค่าใช้จ่ายที่ลดได้ 3,691,008 บาทต่อปี

ปริมาณไฟฟ้า(กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี)
ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง ลดได้
3,801,600 2,764,800 1,036,800

สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 518.3 tCO2-eq

สาขาสุราษฎร์ธานี

เรื่อง ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของ ลมอัด( Auto blow)

ค่าใช้จ่ายที่ลดได้ 4,606,581. บาทต่อปี

ปริมาณไฟฟ้า(กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี)
ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง ลดได้
5,568,394 4,252,228 1,316,166

สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 657.9 tCO2-eq

สาขาหาดใหญ่

เรื่อง ลดการใช้ไฟฟ้าสำนักงานและพื้นที่ทำงาน

ค่าใช้จ่ายที่ลดได้ 1,544,906 บาท

ปริมาณไฟฟ้า(กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี)
ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง ลดได้
8,696,538 8,255,136 441,402

สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 220.7 tCO2-eq

การบริหารจัดการน้ำ (GRI 303-1)

ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งที่มีความถี่ในการเกิดที่เพิ่มมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบกับความต้องการใช้น้ำที่แปรผันตามการเพิ่มขึ้นประชากรและการพัฒนาอุตสาหกรรม ส่งผลให้น้ำเป็นต้นทุนและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อการประกอบธุรกิจและการดำเนินชีวิตของประชาชน

บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการนำน้ำจากแหล่งต่างๆมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำที่ระบายออกนอกโรงงาน ทั้งความเสี่ยงด้านปริมาณและคุณภาพของน้ำ (quantity & quality-related water risks) ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและราคาของการใช้น้ำ (water-related regulatory changes & pricing structure) รวมถึงความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกับผู้มีส่วนได้เสียจากการใช้น้ำ (water-related stakeholder conflicts) เพื่อจัดหามาตรการป้องกันและลดผลกระทบ ทั้งนี้บริษัทฯ ได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์ความเพียงพอของทรัพยากรน้ำของทั้ง 3 โรงงาน คือ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อ.กันตัง จ.ตรัง และ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โดยใช้เครื่องมือ Aqueduct Water Risk Atlas ของ World Resources Institute (WRI) พบว่าโรงงานของบริษัทฯ ไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่อยู่ในสภาวการณ์ที่อาจเกิดการขาดแคลนน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความเครียดน้ำ (water-stressed areas) ทั้งนี้ บริษัทฯ ใช้น้ำบาดาลและน้ำผิวดินจากสระที่ขุดไว้เก็บน้ำ มาปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อใช้ในการผลิต และมีการนำน้ำจากระบบบำบัดน้ำเสียบางส่วนกลับมาใช้ซ้ำ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในกระบวนการผลิต ซึ่งสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 6 (SDG 6) และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปีของประเทศไทย โดยบริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้มีน้ำใช้อย่างต่อเนื่อง ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวกับความขัดแย้งในการใช้น้ำกับชุมชน ดังนี้

แนวทางการดำเนินงาน

  • จัดหาน้ำใช้ให้มีปริมาณเพียงพอและมีคุณภาพที่เหมาะสมต่อกระบวนการผลิต
  • คำนึงถึงคุณภาพและปริมาณของน้ำใช้เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชนรอบโรงงาน
  • กำหนดเป้าหมายการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นทุกปีโดยใช้หลักการ 3 Rs
  • พัฒนาระบบการผลิตน้ำ soft ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อสามารถลดการใช้น้ำบาดาล
  • จัดทำแหล่งน้ำผิวดินและเติมน้ำใต้ดินเพื่อช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมหรือน้ำแล้งโดยรอบที่โรงงานตั้งอยู่
  • ส่งเสริมการคิดค้น ปรับปรุงเพื่อลดการใช้น้ำในแต่ละกระบวนการด้วยกิจกรรม Kaizen และ QCC

เป้าหมาย

ลดการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลงร้อยละ 5 เทียบกับปีฐาน 2562 ภายในปี 2567

ผลการดำเนินงาน

ปริมาณน้ำที่ใช้เฉลี่ย ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ * (ลบ.ม.ต่อล้านชิ้น)

ตัวอย่างโครงการลดการใช้น้ำ

สาขาตรัง

โครงการลดการใช้น้ำร้อนในกระบวนการผลิต (Tank Pre leaching)

ค่าใช้จ่ายที่ลดได้ 4,938,800 บาทต่อปี

ปริมาณการใช้น้ำรวม (ลิตรต่อชั่วโมง)
ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง ลดได้
3,600 2,600 1,000

น้ำร้อนที่ประหยัดได้ = 99,360 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

สาขาสุราษฎร์ธานี

โครงการ การปรับเปลี่ยนรูปแบบ และขนาดของหัวฉีดของการล้าง Former เพื่อเป็นการลดปริมาณการใช้น้ำ

ค่าใช้จ่ายที่ลดได้ 602,399 บาทต่อปี

ปริมาณการใช้การใช้น้ำ Soft (หน่วยลูกบาศก์เมตร)
ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง ลดได้
ใช้หัวฉีดแบบ หยด ขนาด 4 มิลลิเมตร ใช้หัวฉีดแบบ ใบพัด ขนาด 2 มิลลิเมตร 39,528.00

นอกจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำในกระบวนการผลิตแล้ว บริษัทฯ ได้ส่งเสริมความร่วมมือกับคู่ค้าในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ และการบริหารจัดการน้ำโดยใช้หลัก 3Rs ผ่านจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจและแนวปฏิบัติ ของบริษัทฯ เพื่อขยายการดำเนินการป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวกับน้ำไปยังห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ

การบริหารจัดการน้ำทิ้ง

บริษัทฯ มีระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐาน น้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตและกิจกรรมต่างๆ จะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อบำบัดให้มีคุณภาพน้ำผ่านตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานที่กฎหมายกำหนด โดยถือเป็นมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งขั้นต่ำ (GRI 303-2) ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการติดตั้งระบบ BOD online ซึ่งตรวจวัดค่าปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ (Biochemical Oxygen Demand: BOD) ในน้ำเสียและส่งผลตรวจวัดค่า BOD แบบ real time ไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้มั่นใจได้ว่าคุณภาพน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมาย

บริษัทฯ ได้พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสียให้เกิดประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นการนำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วกลับมาหมุนเวียนใช้ซ้ำในการผลิต ตามหลักการ 3Rs เพื่อช่วยลดการใช้น้ำใหม่ โดยกำหนดแนวทาง ดังนี้

  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดการใช้น้ำ
  • มุ่งเน้นการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาหมุนเวียนใช้ในกระบวนการผลิต
  • ตรวจสอบและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
  • ติดตามและเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกี่ยวกับน้ำทิ้งที่อาจเกิดขึ้น

ผลการดำเนินงาน

STGT-HY STGT-SR STGT-TG
คุณภาพน้ำทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงาน (Water dischange quantity) 2561 2562 2563 2564 2561 2562 2563 2564 2561 2562 2563 2564
- BOD 5.95 6.33 3.6 3.4 7.9 6.3 6.5 8.9 9.7 11.5 10.4 7.8
- COD 90.8 89.1 83.2 80.8 104.3 97.5 89.5 93.3 72.4 90.6 83.9 91.1
- SS 8.9 8.1 9.2 13.5 22.7 18.2 29.6 28.2 21.7 22.1 23.6 21
- pH 8.7 8.2 8.3 8.3 8.1 7.9 8.1 8.4 7.88 8.07 8.0 8.0
- TDS 713.9 666.3 753.3 807 2,234.3 2,258.1 2,405.6 2,340.8 775.3 937 1,549.9 1,839.1
- Oil&Grease 0.9 < 3 1.6 1.6 1 3.2 3.5 4.8 0.5 3.2 1.7 0.5

การจัดการมลพิษทางอากาศ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการคุณภาพอากาศที่เกิดจากการดำเนินงาน เนื่องจากในกระบวนการผลิตอาจก่อให้เกิดมลสารทางอากาศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพนักงานและชุมชนโดยรอบ บริษัทฯ จึงได้จัดทำแผนบริหารจัดการควบคุมคุณภาพอากาศทั้งภายใน และบริเวณโดยรอบโรงงาน ตลอดทั้งมีการตรวจวัดและติดตามคุณภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณภาพอากาศเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากการการตรวจวัดคุณภาพอากาศจากปล่องระบาย บริษัทฯ ได้จัดให้มีคณะทำงานลงพื้นที่สำรวจและวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียงเป็นระยะๆ ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้เพื่อจัดการคุณภาพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ได้ติดตั้งระบบบำบัดมลพิษอากาศตามประเภทของกระบวนการผลิต เพื่อลดผลกระทบทั้งภายในโรงงานและชุมชนใกล้เคียง ดังนี้

  • หม้อไอน้ำที่ให้ความร้อนโดยใช้เชื้อเพลิงแบบชีวมวล (ไม้สับ)บริษัทฯ ติดตั้งระบบบำบัดมลพิษ 2 ประเภท คือ
    1. Multi Cyclone (ระบบดักจับฝุ่นละอองและขี้เถ้าแบบแห้ง)
    2. Wet Scrubber (ระบบดักจับฝุ่นละอองและขี้เถ้าแบบเปียก)

    ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการนำระบบ Bag filter มาใช้สำหรับ หม้อไอน้ำที่จะติดตั้งใหม่

  • กระบวนการผลิตที่ใช้ก๊าซคลอรีน จะติดตั้ง wet scrubber

    บริษัทฯ ตั้งเป้าหมาย ข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมเป็น ศูนย์ บริษัทฯ กำหนดแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้

    • การใช้เชื้อเพลิงสะอาดในกระบวนการผลิต
    • ตรวจสอบ ตรวจวัดการทำงานของระบบและคุณภาพอากาศจากปล่องระบายตามแผนงานประจำปี
    • ลงพื้นที่สำรวจผลกระทบและตรวจวัดคุณภาพอากาศชุมชนใกล้เคียงอย่างสม่ำเสมอตามแผน
    • สื่อสารคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนและสาธารณชน

การจัดการของเสีย (GRI 306-1, 306-2)

บริษัทฯ ให้ความสำคัญในดำเนินงานบริหารจัดการของเสียหรือการบริหารจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้บริษัทฯ สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า และลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม

บริษัทฯ ใช้การจัดการของเสียตามหลัก 3Rs (Reduce, Reuse & Recycle) เป็นแนวทางในการจัดการของเสียและวัสดุไม่ใช้แล้วในโรงงาน โดยมุ่งเน้นการนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำไปใช้ทดแทนในหน่วยงานอื่นเพื่อเป็นการลดการส่งกำจัด และใช้แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) ที่ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ รวมทั้งสร้างความตระหนักให้กับพนักงานถึงปัญหาขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และส่งเสริมให้พนักงานช่วยลดวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในชีวิตประจำวัน

ทั้งนี้ ของเสียหลักที่เกิดจากกระบวนการผลิตได้แก่ น้ำเสียจากกระบวนการล้างและเตรียมฟอร์เมอร์ก่อนทำการจุ่มน้ำยางเพื่อขึ้นรูปถุงมือ กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย ขี้เถ้าจากกระบวนการเผาไหม้ชีวมวลไม้สับของ Boiler ฟอร์เมอร์ที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพจากการใช้งาน ไม้พาเลทหรือถังพลาสติกจากการรับเข้าวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ใส่สารเคมี ถังน้ำมันและเศษเหล็กจากงานซ่อมบำรุง รวมถึงถุงมือเสีย ซึ่งของเสียทั้งหมดได้มีการคัดแยกประเภท จัดเก็บ บันทึกและส่งกำจัดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ของเสียที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และของเสียเช่น เศษฟอร์เมอร์ ไม้พาเลท ถังพลาสติกยังสามารถนำไปใช้ซ้ำภายในโรงงานและนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มกับชุมชนได้ด้วย ดูเพิ่มเติมได้ในผลการดำเนินงานด้านสังคมหัวข้อการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม นอกจากนี้บริษัทฯ ได้ส่งเสริมคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานผ่าน จรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจและแนวปฏิบัติ ให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืน (sustainable material) รวมถึงดำเนินการจัดการของเสียตามหลัก 3Rs เพื่อลดการเกิดของเสียและให้เกิดการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน โดยมีการรายงานไว้ในเนื้อหาของการพัฒนาคู่ค้า หน้า 60

แนวทางการดำเนินงาน

  • ใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการพัฒนาและสร้างมูลค่าโดยการคัดแยกและนำกลับไปใช้ซ้ำ
  • การปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อช่วยลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด
  • การคัดแยกและจัดเก็บขยะ/วัสดุไม่ใช้แล้วตามประเภท เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ หรือส่งกำจัดด้วยวิธีการกำจัดที่เหมาะสมกับของเสียแต่ละชนิดตามกฎหมายกำหนด โดยผู้รับกำจัดภายนอกที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • โครงการลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหารและถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวภายในบริษัทฯ
  • โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุไม่ใช้แล้ว
  • กิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิลแลกไข่
  • สร้างความร่วมมือกับคู่ค้าในการลดของเสียจากบรรจุภัณฑ์ โดยเปลี่ยนรูปแบบการรับเข้าวัตถุดิบและการส่งบรรจุภัณฑ์เพื่อนำกลับไปใช้ซ้ำ

เป้าหมาย

  • ลดปริมาณของเสียทั้งหมดต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ร้อยละ 20 เทียบกับปีฐาน 2562 ภายในปี 2567

ผลการดำเนินงาน

ปริมาณของเสียต่อหน่วยการผลิต (ตันต่อล้านชิ้น)

สัดส่วนขยะอันตราย / ขยะไม่อันตราย

หน่วย ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564
ขยะอันตราย ตัน 3,149 4,118 1,207
ขยะไม่อันตราย ตัน 29,339 33,956 42,740

การจัดการของเสีย

หน่วย ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564
ปริมาณของเสียไม่อันตรายทั้งหมดที่นำไปใช้ซ้ำ รีไซเคิล หรือนำกลับคืนด้วยวิธีอื่นๆ (Recycling or Reuse) ตัน 1,438 2,897 2,260
ปริมาณของเสียอันตรายที่ส่งไปกำจัดด้วยวิธีการเผาเพื่อการใช้พลังงาน (Incineration with energy recovery) ตัน 2,633 3,504 549
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่ส่งไปกำจัดด้วยวิธีการฝังกลบ (Landfilling) ตัน 26,679 27,678 7,213
ปริมาณของเสียอันตรายที่ส่งไปกำจัดด้วยวิธีการเผาที่ไม่ได้เพื่อการใช้พลังงาน (Incineration without energy recovery) ตัน

Other SD Project

ศรีตรังโกลฟส์ จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ป่าชายเลน ปล่อยพันธ์ปลาและเก็บขยะ

ศรีตรังโกลฟส์ ร่วมกิจกรรมบางหมากสดใส ร่วมใส่ใจ เส้นทางสัญจร ครั้งที่ 1/2562

ศรีตรังโกลฟส์ ร่วมกิจกรรมเติมสี เติมใจ ให้บางหมาก

ติดต่อเรา